ทนายจอย ยินดีให้คำปรึกษาและบริการ

ทนายจอย ยินดีให้คำปรึกษาและบริการ

เปิดหน้าต่อไป

ฎีกาสำคัญที่คุณควรรู้

รู้กฎหมาย รู้จักทนายความ ไม่เสียเปรียบ

  • เหตุหย่าตามกฎหมาย (มาตรา 1516)
  • สินสมรส
  • ค่าอุปการะเลี้ยงดู (ภรรยา)
  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
  • ค่าเลี้ยงชีพ




  1. สามีภรรยา, พราก, หมายถึง
  2. เหตุฟ้องหย่า
  3. สินส่วนตัว
  4. สินสมรส
  5. เด็กหลอดแก้ว
  6. ชู้
  7. สัญญาหย่า
  8. นามสกุลบุตรเปลี่ยนได้หรือไม่
  9. บันทึกประจำวันเกี่ยวกับการหย่า
  10. ปรปักษ์กับการเป็นสามีภรรยาและค่าเลี้ยงดู
  11. ค่าอุปการะเลี้ยงดูแม้ไม่ขอมาศาลพิจารณาให้ได้
  12. ค่าเลี้ยงชีพ
  13. พิพากษาคดีเกินคำขอท้ายฟ้อง
  14. คุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลมีคำพิพากษา
  15. อายุความ
  16. เขตอำนาจศาล
  17. ค่าขาดไร้อุปการะ
  18. อำนาจปกครองบุตร
  19. เปลี่ยนโทษ
  20. ป้องกันเกียรติยศและชื่อเสียง
  21. ไม่เป็นคดีครอบครัว
  22. กรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นสินสมรสหรือไม่

สินสมรส

สินสมสร

ฎีกาที่ 2817/2562

เมื่อรถบรรทุกของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องซื้อมาด้วยเงินที่ได้มาระหว่างสมรส ผู้ร้องกับจำเลยจึงมีส่วนเป็นเจ้าของรวมกันคนละครึ่ง เมื่อจำเลยนำรถบรรทุกของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดจนถูกศาลพิพากษาให้ริบไปแล้ว ผู้ร้องซึ่งมิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยด้วย ย่อมมีสิทธิขอคืนได้กึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งตกเป็นของอันพึงต้องริบ

*************************************

สินสมรส

ฎีกาที่ 3857/2562

จำเลยแก้ฎีกาอ้างข้อเท็จจริงว่าคุ้นเคยสนิทสนมกับ ฉ. และได้โทรศัพท์ขอบคุณ ฉ. ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยไม่ได้นำสืบในชั้นพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำแก้ฎีกา ก็ไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน

    เงินที่ ฉ. บิดาของโจทก์โอนเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยมีจำนวนมากถึง 13,500,000 บาท ไม่ใช่จำนวนเล็กน้อยที่ ฉ. จะยกให้แก่จำเลยถึงกึ่งหนึ่งโดยเสน่หา ทั้งจำเลยไม่เคยโทรศัพท์ติดต่อขอเงินจาก ฉ. แม้ ฉ. จะเป็นบิดาของโจทก์แต่ก็หาเป็นข้อระแวงว่าจะเบิกความช่วยเหลือโจทก์ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไม่ ดังนั้นเงินจำนวนดังกล่าวที่ ฉ. โอนเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยเป็นเงินที่ ฉ. ให้โจทก์โดยเสน่หาอันเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ เมื่อนำเงินดังกล่าวไปซื้อที่ดินและอาคารพิพาท เช่นนี้ ที่ดินและอาคารพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ตกลงให้จำเลยจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทร่วมกัน และให้ใส่ชื่อโจทก์และจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวม จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินในระหว่างเป็นสามีภริยา ซึ่งโจทก์มีสิทธิบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากัน หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 

    การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในระหว่างที่โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยากันอยู่ ถือว่าเป็นการบอกล้างภายในกำหนดตามกฎหมายข้างต้น โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนที่ให้โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม 

    อนึ่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียมประการหนึ่งตามตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ. ศาลชั้นต้นมิได้กำหนด ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดให้ชัดแจ้ง

**************************************

สินสมรส

ฎีกาที่ 2236/2562

เงินช่วยเหลือสมาชิกเสียชีวิตที่จำเลยจ่ายในกรณีเสียชีวิตของพลโท บ. ซึ่งเป็นสมาชิกของจำเลยไม่ใช่เงินที่พลโท บ. ได้มาระหว่างสมรสกับผู้ร้องสอดที่ 1 จึงไม่ใช่สินสมรส

 ใบสมัครเป็นสมาชิกของจำเลยที่พลโท บ. ทำไว้ มีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้ายินยอมให้ผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่จ่ายเงินได้รายเดือนของข้าพเจ้า หักเงินค่าหุ้นรายเดือนและเงินงวดชำระหนี้..." จากข้อความดังกล่าวแสดงว่าเงินที่นำไปชำระค่าหุ้นรายเดือนนั้นเป็นเงินเดือนของพลโท บ. ซึ่งเป็นเงินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) เมื่อชำระแล้วกลายเป็นทุนเรือนหุ้นของจำเลยที่สมาชิกมีสิทธิเรียกร้องต่อเมื่อความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในทุนเรือนหุ้นจึงคงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องสอดที่ 1 และพลโท บ. อยู่

 ใบสมัครสมาชิกของพลโท บ. มีข้อความยินยอมของผู้ร้องสอดที่ 1 มีข้อความระบุว่า ผู้ร้องสอดที่ 1 ยินยอมให้พลโท บ. ทำนิติกรรมจัดการสินสมรสของตนและพลโท บ. กับจำเลยได้ทุกกรณีนับแต่วันสมัครสมาชิกและถือว่าคำยินยอมในเอกสารนี้เป็นคำยินยอมของผู้ร้องสอดที่ 1 ในการทำนิติกรรมทุกฉบับกับจำเลยจึงมีลักษณะเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่พลโท บ. และผู้ร้องสอดที่ 1 ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างสมรสอันเป็นสัญญาระหว่างสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 เมื่อพลโท บ. ซึ่งเป็นคู่สมรสฝ่ายหนึ่งตายก็ไม่มีคู่กรณีที่ผู้ร้องสอดที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรสที่มีชีวิตอยู่ที่จะบอกล้าง จะนำระยะเวลา 1 ปี หลังการสมรสสิ้นสุดลงมาใช้บังคับไม่ได้ เนื่องจากการสมรสสิ้นสุดลงตามมาตรา 1469 ไม่รวมถึงกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตาย ดังนั้นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกที่พลโท บ. ทำไว้กับจำเลยจึงมีผลผูกพันผู้ร้องสอดที่ 1 ด้วย

************************************

สินสมรส

ฎีกาที่ 516/2560

โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาททั้ง 9 แปลง เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย โดยได้มาระหว่างสมรส จำเลยไม่ปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าว แต่ต่อสู้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีการนำเงินของบริษัท อ. ซื้อไว้โดยใส่ชื่อจำเลยแทน เมื่อที่ดินพิพาททั้ง 9 แปลง เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474

 หลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว การที่จำเลยจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่บุตรก็ถือเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินให้บุคคลอื่น ซึ่งแม้จะเป็นบุตรของทั้งโจทก์และจำเลยเองก็เป็นเหตุที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง ทำให้เห็นได้ว่าเป็นการโอนทรัพย์สินโดยทุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี

 คดีนี้ โจทก์ฟ้องและมีคำขอเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินจากจำเลยมาเป็นของโจทก์ จำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลย แต่จำเลยให้การเพียงว่า เป็นทรัพย์สินของบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลอื่น จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

***************************************

สินสมรส

ฎีกาที่ 8150/2560

ผู้มีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องที่ขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงเท่านั้น เมื่อรถยนต์ตามคำร้องเป็นสินสมรสระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับ ร. ซึ่งผู้คัดค้านที่ 1 กับ ร. มีส่วนเป็นเจ้าของรวมกันคนละครึ่ง แม้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของ ร. ก็ยื่นคำร้องคัดค้านได้เฉพาะทรัพย์สินในส่วนของตน ไม่อาจยื่นคำร้องคัดค้านเกี่ยวกับทรัพย์สินในส่วนของ ร. และไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ทรัพย์สินในส่วนของ ร. ตกเป็นของแผ่นดิน

 ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้บัญชาการเรือนจำอำเภอสีคิ้ว ไม่มีอำนาจหน้าที่ในเรือนจำกลางคลองไผ่ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ไปพบและพูดคุยกับนักโทษชาย ม. ซึ่งเป็นนักโทษในคดียาเสพติดที่เรือนจำกลางคลองไผ่โดยผิดระเบียบ จึงไม่มีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมและแม้ส่อว่าอาจมีข้อพิรุธ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 ได้กระทำการอื่นใดที่จะถือว่าเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับนักโทษชาย ม. มาก่อนหน้านั้นอย่างไร ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน

 ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนักโทษชาย ม. ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ลักลอบส่งโทรศัพท์มือถือไปให้นักโทษชาย ม. เป็นการผิดระเบียบของเรือนจำ และนักโทษชาย ม. นำโทรศัพท์มือถือไปให้นักโทษชาย อ. ซึ่งรู้จักกันมาก่อนและสนิทสนมกัน ใช้ติดต่อจำหน่ายยาเสพติดจากภายในเรือนจำ ผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันเป็นความผิดมูลฐาน

***************************************

สินสมรส

ฎีกาที่ 7789/2560

แม้จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินทั้งสองแปลงเอง และปรากฏชื่อจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวถือกรรมสิทธิ์ แต่เป็นการได้ทรัพย์สินมาในระหว่างสมรส ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ใช้เงินสินส่วนตัวไปซื้อที่ดินดังกล่าวมา ที่ดินทั้งสองแปลงย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) เมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินสินสมรสไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) และจำเลยที่ 2 ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรม การขายฝากนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480

***************************************

ฎีกาที่ 7850/2560

แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า แต่เอกสารท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าที่โจทก์แนบมาท้ายคำฟ้อง ถือว่าจำเลยยอมรับว่ามีข้อตกลงตามบันทึกดังกล่าวเกี่ยวกับบ้านพิพาท ดังนั้น การที่จำเลยให้การและนำสืบว่าปัจจุบันบ้านพิพาทมิใช่สินสมรสที่โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งจากจำเลยได้เพราะโจทก์และจำเลยทำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าไว้ว่าให้ตกเป็นของจำเลย ประเด็นข้อพิพาทจึงมีอยู่ว่าบ้านพิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาพยานหลักฐานต่าง ๆ ตามข้อนำสืบของจำเลย แล้ววินิจฉัยไว้ในคำพิพากษา ในส่วนศาลอุทธรณ์ภาค 6 ก็จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวด้วย เพราะเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานต่าง ๆ ตามประเด็นข้อพิพาทและข้อนำสืบในส่วนนี้ของจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อคู่ความสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความและคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเพื่อมิให้คดีล่าช้า จึงเห็นสมควรวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าบ้านพิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ โดยไม่ย้อนสำนวน เมื่อโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงแบ่งบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสแล้วโดยให้บ้านพิพาทตกเป็นของจำเลย ดังนั้น ในขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้บ้านพิพาทจึงมิใช่สินสมรสที่โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งจากจำเลยได้อีก 

    อนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาว่าบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลย แต่ให้นำหนี้ร่วมจำนวน 1,700,000 บาท มาหักออกจากราคาบ้านพิพาทก่อนแล้วจึงนำบ้านพิพาทมาแบ่งกัน โจทก์ฎีกาว่าไม่ต้องร่วมรับผิดในเงินจำนวน 1,700,000 บาท ดังนี้ ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของโจทก์จึงมีเพียง 1,700,000 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 34,000 บาท ที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาของทุนทรัพย์ 8,500,000 บาท เป็นเงิน 170,000 บาท จึงเป็นการชำระค่าขึ้นศาลเกินมา เห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 34,000 บาท แก่โจทก์

***************************************

ฎีกาที่ 3292/2561

ป.รัษฎากร มาตรา 57 ฉ วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่เงินได้พึงประเมินไม่อาจแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด ให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง เว้นแต่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) สามีและภริยาจะแบ่งเงินได้พึงประเมินเป็นของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง" โจทก์กับ จ. ขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสินสมรส มีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นเงิน 546,000 บาท อันเป็นเงินได้จากการขายสินสมรสนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน ทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสก็ถือว่าต่างฝ่ายมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งเช่นกัน เมื่อโจทก์กับ จ. ไม่ได้มีสัญญาตกลงกันไว้เป็นอื่นในเรื่องการจัดการสินสมรส ก็ถือว่าโจทก์กับ จ. มีเงินได้คนละกึ่งหนึ่ง กรณีไม่ใช่เป็นเงินได้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ชัดแจ้งว่าเป็นของสามีและภริยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 57 ฉ วรรคสอง โจทก์กับ จ. จะแบ่งเงินได้พึงประเมินของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันตามมาตรา 57 ฉ วรรคสองตอนท้ายไม่ได้ การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาว่าโจทก์มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์จำนวน 414,960 บาท ส่วน จ. มีเงินได้จำนวน 131,040 บาท จึงไม่ถูกต้อง

***************************************

ฎีกาที่ 10159/2559

ตามบันทึกข้อตกลงการหย่าและแบ่งสินสมรส ฝ่ายชายให้บุตรทั้งสองอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของฝ่ายหญิงเพียงผู้เดียว ฝ่ายชายจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับสินสมรสทั้งหมดที่ได้ยกให้แก่บุตรทั้งสอง สินสมรสที่มีชื่อฝ่ายชายถือกรรมสิทธิ์ผู้เดียว ฝ่ายชายก็จะโอนเปลี่ยนชื่อให้เป็นชื่อฝ่ายหญิงเป็นผู้ครอบครองแทนบุตรทั้งสอง ในส่วนสินสมรสใดซึ่งหากตรวจสอบพบในภายหลังจากทำบันทึกข้อตกลงฉบับนี้แล้ว ฝ่ายชายตกลงจะนำมายกให้แก่บุตรทั้งสองคนต่อไปในทันที ก็หมายถึง สินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายชายเท่านั้น หาได้มีข้อความระบุถึงสินสมรสที่ตรวจสอบพบในภายหลังแล้วฝ่ายหญิงตกลงจะนำมายกให้แก่บุตรทั้งสองแต่อย่างใดไม่ และไม่ได้หมายถึงสินสมรสของทั้งสองฝ่ายดังเช่นที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงที่มีรายละเอียดของสินสมรสที่คู่สัญญาทั้งสองตกลงยกให้แก่บุตรทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าสินสมรสที่ตรวจสอบพบในภายหลังจากทำบันทึกข้อตกลงในส่วนที่เป็นสินสมรสของฝ่ายชายคือจำเลยที่ 1 ได้นำไปให้จำเลยที่ 2 แล้ว คงเหลือสินสมรสส่วนที่เป็นของโจทก์ซึ่งไม่ได้ตกอยู่ในบังคับข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิติดตามเอาสินสมรสส่วนนี้มาเป็นของตนได้

***************************************

เหตุหย่าและค่าอุปการะเลี้ยงดู

ฎีกาที่ 272/2561

การที่โจทก์หายไปจากบ้านทิ้งจำเลยกับบุตรสองคนอยู่ตามลำพังนาน 3 เดือน ไม่สามารถติดต่อได้ จำเลยเป็นฝ่ายออกติดตามจนพบว่าโจทก์ไปทำงานอยู่ที่โรงพยาบาล ส. จังหวัดภูเก็ต จำเลยเดินทางไปอยู่กับโจทก์ 3 เดือนต่อครั้ง โดยโจทก์จำเลยยังมีเพศสัมพันธ์กัน แม้โจทก์อ้างว่าการมีเพศสัมพันธ์ไม่เป็นไปตามปกติในความเป็นสามีภริยา แต่การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงย่อมต้องมีความยินยอมพร้อมใจ โดยเฉพาะฝ่ายชายหากไม่ยินยอมพร้อมใจ ย่อมยากที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ จึงหาใช่โจทก์จำเลยไม่มีเพศสัมพันธ์กันจนทำให้โจทก์เดือดร้อนเกินควรและจนเป็นเหตุหย่าไม่ การที่จำเลยเดินทางไปตามหาโจทก์ที่จังหวัดภูเก็ต พบคลินิกแต่ไม่พบตัวโจทก์ พบแต่ ก. ทำงานในคลินิกและมีห้องนอนอยู่ติดกับห้องนอนโจทก์ในคลินิก แล้วจำเลยก็ไม่สามารถติดต่อโจทก์ได้อีก เมื่อทราบว่าโจทก์มาเรียนต่อเฉพาะทางที่กรุงเทพ จำเลยจึงไปดักพบ โจทก์ไม่ยอมพูดด้วย จำเลยต้องเข้าไปนั่งข้างโจทก์ในห้องเรียน การที่ทันตแพทย์ที่ร่วมเรียนด้วยและอาจารย์ที่สอนพูดว่า โจทก์มีเมียมาคุม น่าจะเป็นคำพูดล้อเล่น ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำใด ๆ ทำให้โจทก์ต้องอับอาย การที่สามีภริยาปรากฏตัวด้วยกันเป็นครั้งคราวย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทั้งจำเลยกลับถูก ก. ที่มานั่งเฝ้าโจทก์ใช้กำลังทำร้ายและตะโกนด่าต่อหน้าบุคคลอื่น เมื่อโจทก์ขอร้องจำเลยก็ใจอ่อนไม่ดำเนินคดี การกระทำของจำเลยจึงหาใช่จำเลยทำให้โจทก์เสียหายเดือดร้อนเกินควรและทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงไม่ จึงไม่เป็นเหตุหย่า

    สามีภริยามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง เมื่อฝ่ายภริยาคือจำเลยไม่ได้ทำงานและไม่มีรายได้ จำเลยย่อมเป็นฝ่ายได้รับการอุปการะเลี้ยงดู แต่เมื่อไม่ได้รับ จึงมีสิทธิเรียกจากฝ่ายสามีคือโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/38

    ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 155 บัญญัติว่า ในการยื่นคำฟ้องหรือคำร้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในคดีครอบครัวเพื่อเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระค่าขึ้นศาลหรือค่าฤชาธรรมเนียม จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเลี้ยงชีพตนเองจากโจทก์ การที่จำเลยชำระค่าขึ้นศาลชั้นฟ้องแย้ง 200 บาท และศาลชั้นต้นสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องแย้งจำเลยให้เป็นพับมานั้น จึงไม่ชอบ

รู้กฎหมาย รู้จักทนายความ ไม่เสียเปรียบ

01. สามีภรรยา

ฎีกาที่ 2580/2563

คำว่า "ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน" ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก หมายถึงการเป็นภริยาหรือสามีกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1457 ที่บัญญัติว่า "การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น" เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 และจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียหายที่ 1 และจำเลยจึงยังมิใช่ภริยาหรือสามีกัน

 จำเลยฎีกาว่า เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ยินยอมไปกับจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง และไม่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่จะยกขึ้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225 ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่โจทก์มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบประกอบให้ได้ความชัดว่า จำเลยสอดใส่อวัยวะเพศของจำเลยเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 หรือผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้ใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่กระทำกับอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 เอง นั้น จำเลยมิได้นำสืบต่อสู้ในศาลชั้นต้น ทั้งมิได้อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว จำเลยเพิ่งยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นต่อสู้ในชั้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ทั้งยังไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

 ***********************************

02. พราก

ฎีกาที่ 2673/2546


 จำเลยมีอาชีพขับรถรับส่งเด็กนักเรียน ขณะที่เด็กหญิงผู้เสียหายเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำเลยทำอนาจารผู้เสียหายโดยใช้มือลูบคลำที่อวัยวะสืบพันธุ์และจับหน้าอกผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำอนาจารเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคแรก

 ขณะที่จำเลยขับรถพาผู้เสียหายและเด็กนักเรียนอื่นกลับบ้านได้แวะที่อาคารหลังหนึ่งให้เด็กนักเรียนอื่นลงไปซื้อขนม ผู้เสียหายจะลงไปด้วย แต่จำเลยไม่ให้ลงโดยบอกให้ผู้เสียหายฝากคนอื่นไปซื้อขนมแทนแล้วจำเลยนำตัวผู้เสียหายให้นอนราบกับเบาะ ใช้มือกดตัวผู้เสียหายไม่ให้ลุกขึ้น แล้วได้กระทำชำเราผู้เสียหาย หลังจากครั้งนี้แล้วจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอีกหลายครั้ง จนกระทั่งผู้เสียหายเรียนจบถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยนอกจากกระทำชำเราในรถซึ่งแวะจอดที่อาคารดังกล่าวแล้วจำเลยยังพาผู้เสียหายเข้าไปในบ้านร้างแถวสุขุมวิทแล้วกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาตนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก

 ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก คำว่า "พราก" หมายความว่า พาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแล จะกระทำโดยวิธีใดก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด ไม่ต้องใช้กำลังหรืออุบาย ดังนั้นไม่ว่าการพาไปเพื่อร่วมประเวณีจะอยู่ในเส้นทางหรือนอกเส้นทางรับส่งผู้เสียหายไปกลับจากโรงเรียนก็ย่อมเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารแล้ว


 *********************************

03. สินส่วนตัว

โจทก์ใช้เงินสินส่วนตัวของโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านเล็กๆ มีแต่หลังคาแต่ไม่มีฝาบ้านมาในระหว่างสมรส และใช้เงินสินส่วนตัวของโจทก์ในการก่อสร้างบ้าน โรงจอดรถ คอกวัว และศาลาริมน้ำในที่ดินพิพาทของโจทก์ แม้เป็นการก่อสร้างในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันก็จะถือว่าบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสหาได้ไม่ บ้านพิพาทย่อมเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหายได้


สินส่วนตัว

ฎีกาที่ 2489/2561

คดีแพ่งเรื่องใดจะเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าความผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญาหรือไม่ ถ้าต้องอาศัยก็เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทโดยตรง เป็นประเด็นเดียวกันว่าที่ดินพิพาททั้งสามสิบสามแปลงเป็นสินส่วนตัวของ ก. หรือเป็นสินสมรสระหว่าง ก. กับพันเอก ก. ดังนี้ เมื่อคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุด ประเด็นข้อพิพาทคดีนี้เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาโดยคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวได้วินิจฉัยโดยชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาททั้งสามสิบสามแปลงเป็นสินส่วนตัวของ ก. และคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ปัญหาดังกล่าวแม้ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้วินิจฉัยทั้ง ๆ ที่โจทก์บรรยายฟ้อง และคู่ความนำสืบกับจำเลยทั้งเจ็ดอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งเจ็ดย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในฎีกาซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งใช้ขณะยื่นฟ้อง ดังนั้น เมื่อที่ดินพิพาททั้งสามสิบสามแปลงเป็นสินส่วนตัวของ ก. แม้ต่อมาพันเอก ก. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาททั้งสามสิบสามแปลงก็ไม่มีส่วนใดเป็นทรัพย์มรดกของพันเอก ก. ซึ่งตกทอดแก่โจทก์ การที่ ก. ทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแต่ละแปลงให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 4 ทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทบางแปลงที่ตนได้รับให้จำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนเช่นกัน จึงเป็นสิทธิโดยชอบของ ก. และจำเลยที่ 4

*****************************************


20. เรื่องป้องกันเกียรติยศและชื่อเสียง

ฎีกาที่ 378/2479

ชายพบภริยาของตนกำลังร่วมประเวณีทำชู้กับชายอื่นจึงฆ่าภริยาและชายชู้ตายทั้งสองคนนั้นทันทีเช่นนี้ ถือว่าเป็นการป้องกันเกียรติยศและชื่อเสียง พอสมควรแก่เหตุ ไม่มีโทษ


21. ไม่เป็นคดีครอบครัว

ฎีกาที่ 4/2559

คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ตู้พิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงซึ่งทำขึ้นภายหลังจดทะเบียนหย่า แต่ยังคงอยู่กินและทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยให้การว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดข้อตกลง จำเลยเป็นเจ้าของรวมในรถยนต์ตู้พิพาท และโจทก์ยังไม่ชำระเงินที่จำเลยร่วมออกค่าเช่าซื้อและค่าตกแต่งรถให้แก่จำเลย ขอให้ยกฟ้อง ประเด็นข้อพิพาทมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ตู้ให้แก่โจทก์หรือไม่ อันเป็นเรื่องข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่อยู่กินร่วมกันภายหลังจดทะเบียนหย่า เพื่อประสงค์จะระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยยอมผ่อนผันให้แก่กัน มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 2 ลักษณะ 1 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ลักษณะ 17 ว่าด้วยประนีประนอมยอมความ และบรรพ 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ทั้งการซื้อรถยนต์ตู้ก็เกิดขึ้นหลังจากโจทก์กับจำเลยจดทะเบียนหย่ากันแล้ว รถยนต์ตู้พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรส กรณีจึงมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ไม่เป็นคดีครอบครัวตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 10 (3)

***************************************

22. กรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นสินสมรสหรือไม่

ฎีกาที่ 4714/2542

   ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้นหมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน ณ. ถึงแก่กรรมย่อมทำให้การสมรสระหว่าง ณ. กับโจทก์สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 เงินชดเชยเป็นเงินที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.และได้รับมาหลังจาก ณ. ถึงแก่กรรมไปแล้วจึงไม่เป็นสินสมรสระหว่าง ณ. กับโจทก์และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เป็นมรดกของผู้ตายนั้น ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านี้ต้องเป็นของผู้ตายอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่สิทธิที่จะได้รับเงินค่าชดเชยเป็นสิทธิที่เกิดขึ้น เนื่องจากความตายของ ณ. มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรมจึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตาย กับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาท เท่านั้น หาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในเงินกองทุนเลี้ยงชีพ สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้ว ในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรม แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาจาก ณ. จะต้องเคยชำระเงินในอัตราร่วมกับพนักงานของจำเลยคนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่กรรมรายก่อน ๆ ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. โจทก์จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่างผู้ตายกับบุคคลภายนอกและจำเลยเพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์สืบเนื่องจากความมรณะของผู้ตายอันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะถึงแก่กรรมที่โจทก์จะใช้สิทธิแบ่งได้ สัญญาประกันชีวิตที่ผู้ตายระบุให้จำเลยซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย อันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยโดยกล่าวอ้างมาในคำฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิต จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสอง

******************************

2. เหตุฟ้องหย่า

ฎีกาที่ 7534/2560

โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาเดือนพฤศจิกายน 2556 โจทก์มีอาการป่วยเป็นเส้นเลือดในสมองตีบ ไขมันในเลือดสูง ไม่มีแรงช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เดือนธันวาคม 2556 จำเลยที่ 1 เริ่มทยอยขนของออกจากบ้าน จนกระทั่งเดือนธันวาคม 2557 จำเลยที่ 1 ขนของออกจากบ้านไปอยู่กินกับจำเลยที่ 2 แล้วไม่กลับมาเลยตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม 2557 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ถูกขับไล่ออกจากบ้านและถูกข่มขู่จะทำร้ายดังที่กล่าวอ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ออกจากบ้านไปนับถึงวันฟ้อง (วันที่ 6 กรกฎาคม 2558) เกินกว่า 1 ปี จึงเป็นการจงใจทิ้งร้างโจทก์ไปเกิน 1 ปี อันเป็นเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4)

 แม้จำเลยที่ 2 จะยื่นฎีกาในปัญหานี้ว่า จำเลยที่ 1 มิได้ทิ้งร้างโจทก์แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ไม่ได้กระทบสิทธิของจำเลยที่ 2 อันจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 แต่ประการใด เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุทิ้งร้างไปเกิน 1 ปีเช่นนี้ จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้างต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มานั้นเป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาจำเลยที่ 2 มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ให้ยกฎีกาของจำเลยที่ 2 ในปัญหานี้

***************************************

ฎีกาที่ 302/2559

แม้โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้าง แต่การร่วมประเวณีต้องเกิดจากความยินยอมของทั้งสองฝ่าย หากอีกฝ่ายไม่ยินยอมก็ไม่อาจบังคับได้ หากขืนใจถือเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276

   การที่จำเลยเรียกบุตรผู้เยาว์มาฟังคำด่าจนโจทก์ยอมให้จำเลยร่วมประเวณีเพื่อให้บุตรผู้เยาว์ไปพักผ่อน เช่นนี้จะถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยร่วมประเวณีไม่ได้ และการที่โจทก์มดลูกอักเสบจากการร่วมประเวณีของจำเลย จำเลยทราบแต่ไม่หยุดร่วมประเวณีกับโจทก์ จนโจทก์ต้องหนีออกจากบ้าน พฤติกรรมของจำเลยถือเป็นการทำร้ายหรือทรมานจิตใจโจทก์อย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (3) และยังถือเป็นพฤติการณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (6) ด้วย

***************************************

ฎีกาที่ 157/2561

การที่จำเลยมีหนังสือร้องเรียนโจทก์ในเรื่องความประพฤติส่วนตัวของโจทก์ ซึ่งจำเลยในฐานะภริยาย่อมต้องมีความรักและหึงหวงสามีอันเป็นสิทธิของจำเลยย่อมกระทำได้ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวตักเตือนโจทก์ อีกทั้งโจทก์ไม่ได้ถูกดำเนินการทางวินัยแต่อย่างใด การที่จำเลยฟ้องเรียกค่าทดแทนจาก ส. เป็นอีกคดีหนึ่งจนศาลฎีกามีคำพิพากษาให้ ส. ชำระค่าทดแทนแก่จำเลย 500,000 บาท ก็แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำเพื่อรักษาสิทธิในครอบครัวเพื่อไม่ให้ ส. เข้ามาเกี่ยวข้องกับโจทก์ซึ่งเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยอันจะทำให้เกิดความร้าวฉานในครอบครัว แม้จำเลยจะเป็นผู้ออกจากบ้านพักโจทก์ไปก็เพราะโจทก์เปลี่ยนกุญแจบ้านทำให้จำเลยกลับเข้าไปในบ้านไม่ได้ ก็ไม่ใช่กรณีที่จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ ทั้งพฤติกรรมของโจทก์ก็เป็นฝ่ายไปยกย่องหญิงอื่นคือ ส. เป็นภริยา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยละทิ้งร้างโจทก์ไปเกินกว่าหนึ่งปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4)

 ส่วนที่จำเลยเพียงแต่ใช้นิ้วจิ้มที่หน้าอกและยันที่หน้าอกของ ท. มารดาของโจทก์ 1 ครั้ง การกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการใช้กิริยาที่ไม่เหมาะสมและไม่สมควรเยี่ยงบุตรสะใภ้พึงปฏิบัติต่อมารดาของสามีเท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจบุพการีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นการร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (3) จึงไม่มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้

4. สินสมรส

  

5. เด็กหลอกแก้ว

ฎีกาที่ 2199/2561

ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 บัญญัติว่า "ให้ผู้ที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ไม่ว่าจะมีข้อตกลงเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม สามีหรือภริยาที่ดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทน... มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งให้ผู้ที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีและภริยาที่ดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนนับแต่วันที่ผู้นั้นเกิด ทั้งนี้ ไม่ว่าสามีและภริยาที่ดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนจะเป็นสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่..." ย่อมหมายความว่า การดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแม้จะไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด คุณสมบัติ ขั้นตอนและวิธีการตามพระราชบัญญัติก็ไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย คดีนี้การดำเนินการให้ผู้คัดค้านตั้งครรภ์แทนและ ค. เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ จึงเป็นการไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาฉบับลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 ย่อมผูกพันคู่สัญญาและใช้บังคับได้ แม้ตามกฎหมายดังกล่าว ระบุให้เฉพาะสามีหรือภริยาคนใดคนหนึ่งที่ดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทน ไม่ว่าจะเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของสามีและภริยาที่ดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทน และผู้ร้องกับ ม. มิอาจเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ก็ตาม แต่ผู้ร้องเป็นเจ้าของอสุจิที่เข้าผสมกับไข่ของหญิงที่บริจาคจนปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน แล้วนำไปฝังในโพรงมดลูกของผู้คัดค้าน ผู้ร้องจึงมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมกับ ค. ในฐานะเป็นบิดาซึ่งผู้คัดค้านแถลงยอมรับในข้อนี้ และไม่คัดค้านหากศาลจะมีคำสั่งให้ ค. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องด้วยแล้ว จึงเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติให้สิทธิของผู้ร้องไว้โดยตรง ต้องอาศัยบทเฉพาะกาลตามมาตรา 56 มาวินิจฉัยคดีนี้อย่างบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ค. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง

 ผู้คัดค้านไม่มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมกับ ค. แต่เป็นเพียงผู้ให้กำเนิด ค. จึงมีสถานะเป็นมารดาของ ค. เท่านั้น เมื่อกรณีผู้ร้องกับ ค. อยู่ในบังคับของบทเฉพาะกาลตามพระราชบัญญัติดังกล่าวอย่างบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจอาศัย พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 มาตรา 29 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 1566 วรรคสอง (5) สั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียวได้ เพื่อความผาสุกและประโยชน์สูงสุดของเด็ก

*************************************

ฎีกาที่ 10442/2558

โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย ม. จำเลยให้การว่า โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้จดทะเบียนสมรส และใช้วิทยาการทางการแพทย์โดยการผสมเชื้ออสุจิเพื่อตั้งครรภ์เด็กชาย ม. ให้โจทก์ โดยไม่เคยได้ใช้ชีวิตดังสามีภริยาเลย เมื่อเด็กชาย ม. คลอด โจทก์ไม่ส่งเงินมาให้ ไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแต่กลับขู่ให้ส่งมอบบุตรให้ ขอให้ยกฟ้อง ศาลได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทด้วยว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นโมฆะหรือไม่ โดยให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นการจดทะเบียนที่ปราศจากความยินยอมที่จะอยู่กินฉันสามีภริยากันอย่างแท้จริง เนื่องจากโจทก์กับจำเลยจดทะเบียนสมรสกันเพราะโจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ตั้งครรภ์บุตรให้แก่โจทก์ด้วยวิธีการผสมเทียม โดยต่างไม่ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริงและไม่ประสงค์ที่จะอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยา จึงเป็นการสมรสที่ผิดเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1458 ซึ่งมีผลให้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าการสมรสเป็นโมฆะ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้การสมรสเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496 วรรคสอง แล้ว ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจพิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะได้ กรณีไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

    แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ แต่เมื่อบุตรผู้เยาว์คลอดระหว่างที่ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ ผู้เยาว์จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1536 วรรคสอง

6. ชู้

ฎีกาที่ 964/2562

คำฟ้องโจทก์ขอเรียกค่าทดแทนจากจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้" จากพฤติการณ์ที่สามีโจทก์ไปพบจำเลยที่บ้านเช่าของจำเลยในช่วงเวลากลางคืนบ่อยครั้ง โดยขับรถมาเองหรือมาพร้อมกับจำเลยก็ตาม บางครั้งก็นอนพักค้างคืนที่บ้านจำเลยและกลับออกมาในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น อีกทั้งสามีโจทก์ยังมีกุญแจที่ใช้เปิดประตูเข้าออกบ้านจำเลยได้เอง แม้ในยามกลางดึกซึ่งเป็นเวลาที่จำเลยเข้านอนแล้วก็สามารถเข้าบ้านจำเลยโดยไม่ต้องรอให้จำเลยเปิดประตูบ้านให้ อันแสดงให้เห็นว่าจำเลยกับสามีโจทก์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดสนิทสนมกันมากกว่าที่จะเป็นเพียงนายจ้างหรือลูกจ้างกันตามปกติธรรมดา การที่จำเลยเป็นหญิงที่แต่งงานมีสามีแล้ว ยินยอมให้สามีโจทก์ซึ่งเป็นชายอื่นเข้าออกบ้านจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง รวมทั้งให้มานอนค้างคืนที่บ้านแล้วออกจากบ้านไปช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้น โดยบางครั้งมีการแต่งกายออกไปทำงานพร้อมกัน ย่อมทำให้เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นที่พบเห็นถึงพฤติกรรมระหว่างจำเลยกับสามีโจทก์เข้าใจได้ว่า จำเลยกับสามีโจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกัน พฤติการณ์เช่นนี้เป็นการที่จำเลยได้แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง

***************************************

ฎีกาที่ 6516/2552

แม้จำเลยที่ 1 จะไม่เคยพาจำเลยที่ 2 ออกงานสังคม หรือแนะนำให้บุคคลอื่นรู้จักในฐานะภริยาแต่การที่จำเลยทั้งสองไปไหนมาไหนด้วยกันอย่างเปิดเผยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกสร้างในแหล่งชุมชนด้วยกันในเวลากลางคืน ขับรถรับส่งเมื่อไปทำกิจธุระหรือซื้ออาหารด้วยกัน ย่อมบ่งชี้ว่าจำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวและเอื้ออาทรดูแลเอาใจใส่ต่อกัน แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยาอันเป็นเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) แล้ว และโจทก์ยังมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีโจทก์ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ได้อีกด้วย


7. สัญญาหย่า

ฎีกาที่ 965/2562

จำเลยได้เงินจากการออกจากงาน จำเลยย่อมสามารถนำมาชำระแก่โจทก์ตามสัญญาหย่าได้ แต่จำเลยก็หากระทำไม่ กลับอ้างลอย ๆ ว่านำไปชำระหนี้นอกระบบหมด จำเลยจะอ้างเอาเงินที่ได้ไปชำระหนี้ที่จำเลยอ้างว่านอกระบบ ซึ่งหมายความว่าไม่มีมูลที่จะเรียกร้องตามกฎหมายมามีเหตุผลเหนือกว่าการชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาหย่าที่จำเลยมีตามสัญญาที่ตนกระทำอันเป็นหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรมอันดีในฐานะบิดาที่จะต้องดูแลบุตรผู้เยาว์หาได้ไม่ ส่วนหนี้ครัวเรือนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีส่วนรับผิดนั้น เห็นว่า ตามสัญญาหย่ามีข้อตกลงชัดเจนที่จำเลยจะชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเกี่ยวกับการศึกษาบุตร มีลักษณะเป็นการตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทที่จะมีต่อกันในการจัดการทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง หากจำเลยมีข้ออ้างว่าโจทก์กับจำเลยมีหนี้ร่วมกันจริง ก็ควรมีการยกขึ้นพิจารณาระหว่างโจทก์กับจำเลยก่อนที่จะมีข้อตกลงเกี่ยวกับภาระผูกพันที่จำเลยจะรับผิดต่อโจทก์ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามสัญญาหย่าว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์โดยระบุว่า หนี้สินไม่ประสงค์ให้มีการบันทึก จึงต้องถือว่า หนี้สินระหว่างจำเลยกับโจทก์ ไม่ว่าจะมีหรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่กระทบต่อข้อตกลงที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาหย่า ทั้งสิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูถือเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนหรือสละได้ คดีนี้โจทก์ทำข้อตกลงกับจำเลยเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นมารดากระทำการแทนบุตรผู้เยาว์ สิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงยังเป็นของบุตรผู้เยาว์ จำเลยไม่อาจนำมาอ้างขอหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่โจทก์มีต่อจำเลยได้ ดังนั้นจำเลยจะมาหยิบยกภาระหนี้ดังกล่าวมาอ้างเพื่อขอหักกลบลบหนี้ที่ตนมีต่อโจทก์หาได้ไม่

***************************************

บันทึกรายงานประจำวัน

ฎีกาที่ 517/2560

ตามบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี มีข้อความว่า โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ประสงค์จะอยู่กินกันต่อไป จึงได้ตกลงดังนี้ ในเรื่องการหย่านั้น ฝ่ายหญิงจะดำเนินการฟ้องหย่าตามกฎหมายต่อไป โดยมีโจทก์ จำเลย พนักงานสอบสวน และเจ้าพนักงานตำรวจอีกนายหนึ่งลงลายมือชื่อไว้ บันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยโดยตรง มีข้อความชัดเจนว่า ทั้งสองไม่ประสงค์จะอยู่กินกันต่อไป คือต้องการแยกทางกันหรือหย่ากันนั่นเอง แม้มีข้อความในข้อ 2 ว่า ฝ่ายหญิง คือโจทก์จะไปดำเนินการฟ้องหย่าตามกฎหมายต่อไปก็เป็นความเข้าใจของทั้งสองฝ่ายว่าจะต้องไปดำเนินการฟ้องหย่าต่อกันเท่านั้น ข้อความดังกล่าวมิได้ลบล้างเจตนาที่แท้จริงของทั้งโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะอยู่กินกันต่อไปแต่อย่างใด บันทึกดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่โจทก์จำเลยประสงค์จะหย่ากัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1514 พนักงานสอบสวนและเจ้าพนักงานตำรวจที่ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้เขียนบันทึก เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติตามหน้าที่ ได้รับรู้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยตามข้อความในบันทึกดังกล่าว ถือได้ว่าคนทั้งสองได้ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะพยานผู้ทำบันทึกแล้ว จึงถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย

8. นามสกุลบุตรเปลี่ยนได้หรือไม่

ฎีกาที่ 7547/2561

ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยเปลี่ยนชื่อสกุลของบุตรผู้เยาว์กลับมาใช้ชื่อสกุลของโจทก์ดังเดิม จำเลยยื่นคำคัดค้านว่า ไม่เปลี่ยนชื่อสกุลกลับไปตามที่โจทก์ขอ ทำนองว่าไม่มีประเด็น และเกินคำขอของโจทก์ให้ใส่ชื่อสกุลของโจทก์เป็นชื่อรองนั้น เห็นว่า คดีมีประเด็นโต้เถียงกันว่า ที่จำเลยเปลี่ยนชื่อสกุลของโจทก์มาเป็นชื่อสกุลของจำเลย โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ชอบหรือไม่ ซึ่งศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ และโดยที่โจทก์ประสงค์ให้เพิ่มชื่อสกุลของโจทก์เป็นชื่อรองของบุตรผู้เยาว์ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า กรณีนี้มิใช่เรื่องที่บุตรผู้เยาว์ของโจทก์และจำเลย ที่มีชื่อตัวหรือชื่อรองอยู่แล้วประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรอง ซึ่งต้องยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่เสียก่อน ตาม พ.ร.บ.ชื่อบุคคล พ.ศ.2505 มาตรา 6 วรรคสอง และมาตรา 16 ดังนั้น ศาลจึงมีอำนาจเพิ่มชื่อสกุลของโจทก์เป็นชื่อรองให้แก่บุตรผู้เยาว์ได้

 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2561)

ค่าเลี้ยงชีพ

ฎีกาที่ 875/2561

โจทก์ฟ้องจำเลยขอหย่า ขอแบ่งสินสมรส ขอถอนอำนาจปกครองจำเลย และขอให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพเป็นเงินจำนวน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยยินยอมที่จะหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว การที่โจทก์จะเรียกให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้แก่ตนได้นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ครบหลักเกณฑ์ 3 ประการว่า เหตุแห่งการหย่าในคดีนี้เป็นความผิดของจำเลยแต่เพียงฝ่ายเดียว การหย่านั้นทำให้โจทก์ยากจนลงเพราะไม่มีรายได้จากทรัพย์สินหรือจากการงานที่เคยทำอยู่และโจทก์จะต้องฟ้องเรียกค่าเลี้ยงชีพมาในคดีฟ้องหย่า เมื่อคดีนี้โจทก์จำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันระหว่างพิจารณาโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย จึงไม่มีประเด็นฟ้องหย่าต่อศาลให้วินิจฉัย และไม่มีกรณีที่จะถือได้ว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของฝ่ายใด จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1526 เมื่อมิได้ตกลงกันไว้ในเรื่องค่าเลี้ยงชีพ ย่อมไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะมาเรียกค่าเลี้ยงชีพได้

ค่าอุปการะเลี้ยงดู แม้ไม่ได้ขอมาท้ายฟ้องศาลพิจารณาให้ได้

ฎีกาที่ 8151/2560

การที่อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อยู่กับโจทก์เรื่อยมาจนกระทั่งบรรลุนิติภาวะ โจทก์ย่อมหมดหน้าที่ที่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง แต่ในส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1526 บัญญัติว่า ในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ การที่จำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้ อันเป็นความผิดของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจเรียกค่าเลี้ยงชีพภายหลังการหย่าได้ อย่างไรก็ตามจำเลยสามารถเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูก่อนฟ้องจนถึงศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้หย่าได้ และสิทธิในการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู ถึงแม้จำเลยจะมิได้ขอมา ศาลก็มีอำนาจกำหนดให้ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/38

พิพากษาคดีเกินคำขอท้ายฟ้อง

ฎีกาที่ 7851/2560

คำฟ้องของโจทก์ข้อ 2.2 - 2.5 บรรยายบัญชีเงินฝากในธนาคาร ก. ธนาคาร ท. ธนาคาร อ. และธนาคาร พ. รวม 4 ธนาคาร แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์และบรรยายในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า ขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะทรัพย์สินดังต่อไปนี้ว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ล. โดยไม่ได้อุทธรณ์ถึงบัญชีเงินฝากธนาคาร พ. แต่อย่างใด ทั้งในตอนท้ายอุทธรณ์ของโจทก์ยังมีคำขอในข้อ 2 ให้จำเลยทั้งสองแบ่งสินสมรสในส่วนที่เป็นเงินฝากธนาคารแก่โจทก์เพียง 35,872.73 บาท เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เงินฝากในธนาคาร พ. มีจำนวน 800,000 บาท เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ล. โจทก์จึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่งและพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งสินสมรสในส่วนเงินฝากธนาคารแก่โจทก์ 435,872.22 บาท พร้อมดอกเบี้ยนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์อุทธรณ์ ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

บันทึกท้ายทะเบียนหย่า

ฎีกาที่ 6926/2560

โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาของบุตร รวมทั้งขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือสัญญาหย่าไว้ต่อกันโดยมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 5,000 บาท และค่าการศึกษาบุตรด้วย และยังมีข้อตกลงแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่า บ้านพร้อมที่ดินพิพาทให้เป็นของโจทก์และจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ตายไปให้ส่วนของจำเลยที่ 1 ตกเป็นมรดกแก่บุตร คือ จ. แม้คดีนี้เป็นคดีครอบครัว แต่สิทธิในการฎีกาต้องพิจารณาทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาว่าต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นคดีสิทธิในครอบครัว เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเกี่ยวกับการขอให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในวันที่ 13 มกราคม 2557 อันเป็นเวลาภายหลังที่ จ. บรรลุนิติภาวะแล้ว กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ตามสัญญา ไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว ทั้งข้อหาแต่ละข้อตามคำฟ้องของโจทก์ก็แยกจากกันได้เพราะไม่เกี่ยวข้องกัน การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาให้ จ. เนื่องจาก จ. มีพฤติกรรมก้าวร้าวไม่เคารพจำเลยที่ 1 โจทก์และ จ. ร่วมกันขัดขวางมิให้จำเลยที่ 1 ได้รับเงินเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต และยังร่วมกันไปรับเงินจากอีกกรมธรรม์หนึ่งที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันขอให้หักกลบลบหนี้ได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง มิใช่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่โจทก์เป็นเงิน 81,665 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ทุนทรัพย์ที่พิพาทตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ในประเด็นนี้จึงไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

    ข้อความในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าที่จำเลยที่ 1 ระบุว่า สินสมรสในส่วนของจำเลยที่ 1 ในบ้านพร้อมที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ตายให้ตกเป็นมรดกของบุตร คือ จ. นั้นเป็นสัญญาที่มีเงื่อนเวลาที่ก่อให้เกิดหนี้แก่จำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระแก่บุคคลภายนอก คือ จ. ผู้เป็นบุตร เพื่อเป็นการระงับข้อพิพาท จึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 มิใช่พินัยกรรม ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านพิพาท เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาแม้ไม่กระทบต่อสิทธิของโจทก์ในบ้านและที่ดินพิพาทก็ตาม แต่โจทก์ก็เป็นคู่สัญญาในหนังสือสัญญาหย่าโดยตรงกับจำเลยที่ 1 ในการยกทรัพย์สินให้แก่บุตร โจทก์ในฐานะคู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรม การโอนทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้เพราะเป็นทางให้บุตรเสียเปรียบ อันเป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาหย่า การที่จำเลยที่ 1 โอนบ้านพร้อมที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 หลีกเลี่ยงที่จะชำระหนี้ให้แก่บุตรตามข้อตกลงในสัญญา กรณีมีเหตุที่จะเพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวได้

***************************************

ฎีกาที่ 4/2559

คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ตู้พิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงซึ่งทำขึ้นภายหลังจดทะเบียนหย่า แต่ยังคงอยู่กินและทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยให้การว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดข้อตกลง จำเลยเป็นเจ้าของรวมในรถยนต์ตู้พิพาท และโจทก์ยังไม่ชำระเงินที่จำเลยร่วมออกค่าเช่าซื้อและค่าตกแต่งรถให้แก่จำเลย ขอให้ยกฟ้อง ประเด็นข้อพิพาทมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ตู้ให้แก่โจทก์หรือไม่ อันเป็นเรื่องข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่อยู่กินร่วมกันภายหลังจดทะเบียนหย่า เพื่อประสงค์จะระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยยอมผ่อนผันให้แก่กัน มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 2 ลักษณะ 1 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ลักษณะ 17 ว่าด้วยประนีประนอมยอมความ และบรรพ 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ทั้งการซื้อรถยนต์ตู้ก็เกิดขึ้นหลังจากโจทก์กับจำเลยจดทะเบียนหย่ากันแล้ว รถยนต์ตู้พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรส กรณีจึงมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ไม่เป็นคดีครอบครัวตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 10 (3)

อายุความ

ฎีกาที่ 2124/2562

จำเลยที่ 1 เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของ พ. ซึ่งจำต้องอุปการะเลี้ยงดู พ. ในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บทกฎหมายดังกล่าวมิได้กำหนดระยะเวลาการจ่ายไว้ และไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกำหนดระยะเวลาชำระไว้ตามมาตรา 1598/40 วรรคหนึ่ง ดังนั้นค่าอุปการะเลี้ยงดู พ. ขณะที่เป็นผู้เยาว์ที่โจทก์เรียกร้องในคดีนี้ โดยอาศัยบทบัญญัติ มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 193/33 (4) อันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี

****************************************

ฎีกาที่ 10025/2560

การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลย ย่อมเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิม แต่คำฟ้องที่โจทก์ได้ถอนฟ้องก็อาจยื่นฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยและศาลชั้นต้นอนุญาต เท่ากับว่าไม่เคยมีการฟ้องร้องกันมาก่อน เพราะกฎหมายกำหนดให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนมีการฟ้องร้อง คดีดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือเสร็จสิ้นไปโดยมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 ที่โจทก์ยื่นคำแถลงว่าจำเลยละเมิดข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์และจำเลยกระทำกันนอกศาลหลังจากมีการถอนฟ้องแล้ว จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความที่กระทำกันในชั้นศาลและมิใช่เป็นกรณีการใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากคำพิพากษาถึงที่สุดที่มีอายุความ 10 ปี

 ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่งและวรรคสาม บัญญัติว่า โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม และห้ามมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามวรรคหนึ่ง เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันบอกล้างโมฆียะกรรม และมาตรา 193/9 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดสิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ คดีนี้เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องล่วงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันบอกล้างโมฆียะกรรม คดีโจทก์จึงขาดอายุความต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามกฎหมาย

***************************************

ฎีกาที่ 7639/2560

จำเลยที่ 1 ให้การในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 โดยซื้อที่ดินพิพาทจาก อ. ก่อนจดทะเบียนสมรสกับโจทก์แต่ยังไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ในขณะนั้น ภายหลังเมื่อจดทะเบียนสมรสกับโจทก์แล้ว อ. จึงโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์อันเป็นการยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัว แม้จำเลยที่ 1 จะให้การในตอนหลังว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เพราะโจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ยกอายุความขึ้นตัดฟ้องโจทก์เท่านั้น มิใช่เป็นการยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส อันจะถือเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเองและเป็นคำให้การที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีย่อมมีประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 1 ว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ขาดอายุความหรือไม่ และศาลชั้นต้นต้องวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวด้วย การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความฟ้องเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าว แม้ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัย แต่เมื่อคดีมีการสืบพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย และเห็นควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปพร้อมกับฎีกาของโจทก์ว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่รู้เห็นยินยอม จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าโจทก์เป็นสามีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่สุจริต จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยที่ 2 กระทำการโดยสุจริต และฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะโจทก์นำคดีมาฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันที่รู้เหตุอันเป็นมูลขอให้เพิกถอน โดยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าที่ดินพิพาทไม่เป็นสินสมรส คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสแต่ต่อสู้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำการโดยสุจริตและฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เช่นนี้ คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงมีประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้อง และคำให้การของจำเลยที่ 2 ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากโจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านยอมรับว่า โจทก์ไปขอตรวจสอบดูเอกสารสิทธิเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินพิพาท เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2557 ที่บ้านของจำเลยที่ 2 ตามภาพถ่ายหมาย ล.3 ทั้งยังได้ไปเจรจาไกล่เกลี่ยที่บ้านของ ส. กำนันตำบลตาลชุม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2557 เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินพิพาทจริงย่อมแสดงว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2557 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2558 จึงเกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง

คุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลมีคำพิพากษา

ฎีกาที่ 7649/2560

จำเลยทั้งสองตั้งใจจะยักย้ายทรัพย์สินที่พิพาทไปให้พ้นจากอำนาจศาลหรือขายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อประวิงหรือขัดขวางต่อการบังคับตามคำบังคับใดๆ หรืออาจจะออกคำบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสอง คำฟ้องโจทก์จึงมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้บังคับได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 (1) (ก) เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยโต้แย้งว่า วิธีการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวมาใช้หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น ที่ศาลจะมีคำสั่งต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคสาม (เดิม) กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้

เขตอำนาจจศาล

ฎีกาที่ 39/2559

การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยร่วมกับโจทก์ดำเนินการแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่หุ้นส่วนจำกัด ก. โดยอ้างว่า ที่ดินพิพาทของห้างฯ โจทก์ยังชำระบัญชีไม่เสร็จ จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ที่ดินแปลงเดียวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ซึ่งเป็นของห้าง โจทก์ชำระบัญชีเสร็จแล้ว จำเลยกับพวกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด และการให้ อันจะต้องบังคับตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท บรรพ 3 ลักษณะ 22 และว่าด้วย ให้ บรรพ 3 ลักษณะ 3 แม้จำเลยจะให้การถึงการได้มาของที่พิพาทว่า เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ น. แต่ข้อพิพาทในคดีนี้ไม่ได้เป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับ น. อันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาโดยตรง และมิได้เป็นเรื่องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 จึงไม่ใช่คดีครอบครัวตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 10 (3)

***************************************

ฎีกาที่ 1179/2561

การวินิจฉัยปัญหาว่า คดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวหรือไม่นั้น เป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง (เดิม) และคู่ความต้องร้องขอก่อนวันสืบพยาน แต่กรณีที่ศาลเห็นสมควรให้กระทำได้ก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามมาตรา 11 วรรคสอง (เดิม) จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจส่งปัญหานี้ให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย และไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้

 การได้ที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวโดยจำเลยถือกรรมสิทธิ์แทน เป็นการต้องห้ามตาม ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่นิติกรรมการได้ที่ดินของโจทก์ก็ใช่ว่าจะเสียเปล่าไม่มีผลใด ๆ เสียเลยไม่โจทก์ยังมีสิทธิได้รับผลตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 อันจะจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดถ้าไม่จำหน่ายในเวลาที่กำหนด อธิบดีกรมที่ดินก็มีอำนาจจำหน่าย

18 ค่าขาดไร้อุปการะ

https://appsto.re/th/rgcscb.i

ย่อสั้นฎีกาที่ 10/2562

การยื่นคำร้องขอค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทแต่ละคนที่จะพึงเรียกจากผู้กระทำละเมิดต่อผู้ตาย เมื่อ ศ. ซึ่งบรรลุนิติภาวะโดยมีอายุ 20 ปี บริบูรณ์ และพ้นจากภาวะผู้เยาว์แล้วมิได้ยื่นคำร้องขอค่าขาดไร้อุปการะที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตายที่ 3 ซึ่งเป็นบิดาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 และมิได้มอบอำนาจให้โจทก์ร่วมที่ 3 ซึ่งเป็นมารดายื่นคำร้องขอค่าขาดไร้อุปการะแทนตน โจทก์ร่วมที่ 3 จึงไม่มีอำนาจเรียกค่าเสียหายดังกล่าวแทน ศ.

19. อำนาจปกครองบุตร

ฎีกาที่ 1572/2552

ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยจดทะเบียนรับ ก. และ ด. ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยดังนั้น นอกจากผู้เยาว์ทั้งสองจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ผู้เป็นมารดาแล้ว ผู้เยาว์ทั้งสองย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยผู้เป็นบิดาเช่นเดียวกันด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 จำเลยจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเช่นกัน

 ขณะเริ่มอยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์ จำเลยยังเป็นโสด แต่หลังจากนั้นจำเลยเดินทางไปแต่งงานและอยู่กินกับหญิงอื่นที่ประเทศปากีสถานนานประมาณ 1 ปี แล้วจำเลยกลับเข้ามาอยู่กินกับโจทก์ด้วยในประเทศไทยจนมีบุตรผู้เยาว์ทั้งสองดังกล่าวโดยจำเลยไปๆ มาๆ ทั้งประเทศปากีสถานและประเทศไทย ดังนี้ แม้การอยู่กินเป็นสามีภริยาในลักษณะดังกล่าวจะชอบด้วยลัทธิศาสนาของจำเลยและปัจจุบันหญิงอื่นนั้นจะสำนักอยู่ในต่างประเทศก็ตามแต่ก็เป็นการแจ้งชัดว่าจำเลยอยู่กินมีหญิงอื่นเป็นภริยาอีกคนนอกจากโจทก์ หาใช่มีเพียงโจทก์เพียงลำพังไม่ เมื่อประกอบกับการที่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองย้ายถิ่นสำนักและ ไปศึกษาอยู่ในประเทศปากีสถานเป็นไปโดยการริเริ่มของจำเลยที่ต้องการให้มารดาของจำเลยซึ่งอยู่ในประเทศดังกล่าวเป็นผู้ดูแลบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเนื่องจากผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชายถือเป็นตัวแทนของจำเลยที่จะอยู่กับมารดาของจำเลยตามลัทธิที่จำเลยเชื่อ เพื่อดูแลทรัพย์สินของครอบครัวจำเลยในประเทศดังกล่าวจนกระทั่งเป็นเหตุให้บุตรผู้เยาว์ทั้งสองไม่สามารถพูดและเขียนภาษาไทย ทั้ง ๆ ที่ผู้เยาว์ทั้งสองเกิดในราชอาณาจักรต้องขึ้นทะเบียนเป็นทหารของประเทศไทยและเป็นบุตรของโจทก์ด้วย โดยโจทก์ก็ดี จำเลยก็ดีอยู่ในฐานะสามารถอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองในประเทศไทยได้โดยไม่ขัดสน พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวบุตรผู้เยาว์ทั้งสองโดยมิชอบไม่เปิดโอกาสให้โจทก์กับบุตรผู้เยาว์ทั้งสองอุปการะปฏิการะแก่กันตามศีลธรรมอันดีจึงต้องถอนอำนาจปกครองของจำเลยในส่วนสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรผู้เยาว์ทั้งสองตามมาตรา 1567 (1) แห่ง ป.พ.พ. โดยให้เป็นสิทธิเฉพาะของโจทก์ผู้เป็นมารดาและเมื่อถอนอำนาจปกครองเฉพาะส่วนดังกล่าวแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองจึงมีสิทธิเรียกบุตรทั้งสองคืนจากจำเลยได้

******************************************

ฎีกาที่ 8596/2559

โจทก์ฎีกาประเด็นขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเรื่องที่โจทก์ตกลงจะให้ค่าเลี้ยงชีพแก่จำเลยจำนวน 200,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาของโจทก์ว่า คำฟ้องในเรื่องค่าเลี้ยงชีพเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 และไม่รับวินิจฉัยนั้น เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ เพราะประเด็นค่าเลี้ยงชีพ เป็นการฟ้องตั้งสิทธิ อันเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องในครอบครัวระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากัน จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว ซึ่งโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง และ 248 วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ 247

   ประเด็นขอเพิกถอนอำนาจปกครองของจำเลยนั้น โจทก์อ้างว่า หากผู้เยาว์อยู่กับโจทก์ จะได้ประโยชน์และความผาสุกดีกว่าอยู่กับจำเลย เหตุที่อ้างไม่ถือเป็นการใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบ หรือประพฤติชั่วร้ายอันเป็นเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองจำเลยได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1582 วรรคหนึ่ง แต่การที่ผู้เยาว์พักอาศัย เรียนหนังสือ และอยู่ในความดูแลของโจทก์ และผู้เยาว์ทำคำแถลงต่อศาลว่า ประสงค์จะอยู่กับโจทก์ อยู่กับจำเลยและบิดาเลี้ยงไม่มีความสุข ผู้เยาว์อายุ 10 ปีแล้วถือได้ว่ามีความรู้สึกนึกคิดได้โดยตนเอง สาเหตุที่ไม่อยากอยู่กับจำเลยสามารถบอกเหตุผลได้ มิได้กล่าวอ้างลอยๆ ประกอบกับฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองของจำเลยฝ่ายเดียวตามที่ตกลงในบันทึกท้ายทะเบียนหย่า แต่คำบรรยายฟ้องและพฤติการณ์แห่งคดีเป็นกรณีที่โจทก์ประสงค์จะเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองตามที่ตกลงกันไว้กับจำเลย ถือว่าโจทก์ประสงค์ที่จะใช้อำนาจปกครอง เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์ความผาสุกของผู้เยาว์ อาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1520,1521 สมควรให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองร่วมกับจำเลย โดยให้โจทก์มีอำนาจกำหนดที่อยู่ผู้เยาว์

20. เปลี่ยนโทษ

ฎีกาที่ 7111/2559

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกรวม 5 ปี 6 เดือน อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 (1) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 4 จังหวัดขอนแก่น มีกำหนด 3 ปี นับแต่วันพิพากษา ริบของกลาง และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนโดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกและอบรมซึ่งมิใช่การลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 ต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองมิได้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 และมาตรา 183 ซึ่งกรณีนี้จำเลยจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 แต่คดีนี้จำเลยยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา และผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาซึ่งไม่ถูกต้อง แต่อย่างไรก็ดีปรากฏว่าคดีนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้จนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2558 และจำเลยยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 19 สิงหาคม 2558 ซึ่งหากผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องของจำเลยโดยถูกต้องว่าไม่มีอำนาจอนุญาตให้จำเลยฎีกาได้ และศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแต่แรกแล้ว จำเลยย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่องดังกล่าวด้วยการยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาเพื่อขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 4 อนุญาตให้จำเลยฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 จึงเห็นสมควรให้โอกาสจำเลยยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นเสียใหม่ให้ถูกต้อง

ฎีกาสำคัญที่คุณควรรู้ (หน้าที่ 1)

01. สามีภรรยา

ฎีกาที่ 2580/2563

คำว่า "ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน" ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก หมายถึงการเป็นภริยาหรือสามีกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1457 ที่บัญญัติว่า "การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น" เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 และจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียหายที่ 1 และจำเลยจึงยังมิใช่ภริยาหรือสามีกัน

 จำเลยฎีกาว่า เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ยินยอมไปกับจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง และไม่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่จะยกขึ้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225 ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่โจทก์มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบประกอบให้ได้ความชัดว่า จำเลยสอดใส่อวัยวะเพศของจำเลยเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 หรือผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้ใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่กระทำกับอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 เอง นั้น จำเลยมิได้นำสืบต่อสู้ในศาลชั้นต้น ทั้งมิได้อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว จำเลยเพิ่งยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นต่อสู้ในชั้นฎีกา จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ทั้งยังไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

 ***********************************

02. พราก

ฎีกาที่ 2673/2546


 จำเลยมีอาชีพขับรถรับส่งเด็กนักเรียน ขณะที่เด็กหญิงผู้เสียหายเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำเลยทำอนาจารผู้เสียหายโดยใช้มือลูบคลำที่อวัยวะสืบพันธุ์และจับหน้าอกผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำอนาจารเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคแรก

 ขณะที่จำเลยขับรถพาผู้เสียหายและเด็กนักเรียนอื่นกลับบ้านได้แวะที่อาคารหลังหนึ่งให้เด็กนักเรียนอื่นลงไปซื้อขนม ผู้เสียหายจะลงไปด้วย แต่จำเลยไม่ให้ลงโดยบอกให้ผู้เสียหายฝากคนอื่นไปซื้อขนมแทนแล้วจำเลยนำตัวผู้เสียหายให้นอนราบกับเบาะ ใช้มือกดตัวผู้เสียหายไม่ให้ลุกขึ้น แล้วได้กระทำชำเราผู้เสียหาย หลังจากครั้งนี้แล้วจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอีกหลายครั้ง จนกระทั่งผู้เสียหายเรียนจบถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยนอกจากกระทำชำเราในรถซึ่งแวะจอดที่อาคารดังกล่าวแล้วจำเลยยังพาผู้เสียหายเข้าไปในบ้านร้างแถวสุขุมวิทแล้วกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาตนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก

 ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก คำว่า "พราก" หมายความว่า พาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแล จะกระทำโดยวิธีใดก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด ไม่ต้องใช้กำลังหรืออุบาย ดังนั้นไม่ว่าการพาไปเพื่อร่วมประเวณีจะอยู่ในเส้นทางหรือนอกเส้นทางรับส่งผู้เสียหายไปกลับจากโรงเรียนก็ย่อมเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารแล้ว


 *********************************

03. สินส่วนตัว

โจทก์ใช้เงินสินส่วนตัวของโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านเล็กๆ มีแต่หลังคาแต่ไม่มีฝาบ้านมาในระหว่างสมรส และใช้เงินสินส่วนตัวของโจทก์ในการก่อสร้างบ้าน โรงจอดรถ คอกวัว และศาลาริมน้ำในที่ดินพิพาทของโจทก์ แม้เป็นการก่อสร้างในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันก็จะถือว่าบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสหาได้ไม่ บ้านพิพาทย่อมเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหายได้


สินส่วนตัว

ฎีกาที่ 2489/2561

คดีแพ่งเรื่องใดจะเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าความผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญาหรือไม่ ถ้าต้องอาศัยก็เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทโดยตรง เป็นประเด็นเดียวกันว่าที่ดินพิพาททั้งสามสิบสามแปลงเป็นสินส่วนตัวของ ก. หรือเป็นสินสมรสระหว่าง ก. กับพันเอก ก. ดังนี้ เมื่อคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุด ประเด็นข้อพิพาทคดีนี้เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาโดยคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวได้วินิจฉัยโดยชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาททั้งสามสิบสามแปลงเป็นสินส่วนตัวของ ก. และคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ปัญหาดังกล่าวแม้ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้วินิจฉัยทั้ง ๆ ที่โจทก์บรรยายฟ้อง และคู่ความนำสืบกับจำเลยทั้งเจ็ดอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งเจ็ดย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในฎีกาซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งใช้ขณะยื่นฟ้อง ดังนั้น เมื่อที่ดินพิพาททั้งสามสิบสามแปลงเป็นสินส่วนตัวของ ก. แม้ต่อมาพันเอก ก. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาททั้งสามสิบสามแปลงก็ไม่มีส่วนใดเป็นทรัพย์มรดกของพันเอก ก. ซึ่งตกทอดแก่โจทก์ การที่ ก. ทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแต่ละแปลงให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 4 ทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทบางแปลงที่ตนได้รับให้จำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนเช่นกัน จึงเป็นสิทธิโดยชอบของ ก. และจำเลยที่ 4

*****************************************

04. สินสมสร

ฎีกาที่ 2817/2562

เมื่อรถบรรทุกของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องซื้อมาด้วยเงินที่ได้มาระหว่างสมรส ผู้ร้องกับจำเลยจึงมีส่วนเป็นเจ้าของรวมกันคนละครึ่ง เมื่อจำเลยนำรถบรรทุกของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดจนถูกศาลพิพากษาให้ริบไปแล้ว ผู้ร้องซึ่งมิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยด้วย ย่อมมีสิทธิขอคืนได้กึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งตกเป็นของอันพึงต้องริบ

*************************************

ฎีกาที่ 3857/2562

จำเลยแก้ฎีกาอ้างข้อเท็จจริงว่าคุ้นเคยสนิทสนมกับ ฉ. และได้โทรศัพท์ขอบคุณ ฉ. ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยไม่ได้นำสืบในชั้นพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำแก้ฎีกา ก็ไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน

    เงินที่ ฉ. บิดาของโจทก์โอนเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยมีจำนวนมากถึง 13,500,000 บาท ไม่ใช่จำนวนเล็กน้อยที่ ฉ. จะยกให้แก่จำเลยถึงกึ่งหนึ่งโดยเสน่หา ทั้งจำเลยไม่เคยโทรศัพท์ติดต่อขอเงินจาก ฉ. แม้ ฉ. จะเป็นบิดาของโจทก์แต่ก็หาเป็นข้อระแวงว่าจะเบิกความช่วยเหลือโจทก์ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไม่ ดังนั้นเงินจำนวนดังกล่าวที่ ฉ. โอนเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยเป็นเงินที่ ฉ. ให้โจทก์โดยเสน่หาอันเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ เมื่อนำเงินดังกล่าวไปซื้อที่ดินและอาคารพิพาท เช่นนี้ ที่ดินและอาคารพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ตกลงให้จำเลยจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทร่วมกัน และให้ใส่ชื่อโจทก์และจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวม จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินในระหว่างเป็นสามีภริยา ซึ่งโจทก์มีสิทธิบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากัน หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 

    การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในระหว่างที่โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยากันอยู่ ถือว่าเป็นการบอกล้างภายในกำหนดตามกฎหมายข้างต้น โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนที่ให้โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม 

    อนึ่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียมประการหนึ่งตามตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ. ศาลชั้นต้นมิได้กำหนด ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดให้ชัดแจ้ง

**************************************

ฎีกาที่ 2236/2562

เงินช่วยเหลือสมาชิกเสียชีวิตที่จำเลยจ่ายในกรณีเสียชีวิตของพลโท บ. ซึ่งเป็นสมาชิกของจำเลยไม่ใช่เงินที่พลโท บ. ได้มาระหว่างสมรสกับผู้ร้องสอดที่ 1 จึงไม่ใช่สินสมรส

 ใบสมัครเป็นสมาชิกของจำเลยที่พลโท บ. ทำไว้ มีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้ายินยอมให้ผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่จ่ายเงินได้รายเดือนของข้าพเจ้า หักเงินค่าหุ้นรายเดือนและเงินงวดชำระหนี้..." จากข้อความดังกล่าวแสดงว่าเงินที่นำไปชำระค่าหุ้นรายเดือนนั้นเป็นเงินเดือนของพลโท บ. ซึ่งเป็นเงินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) เมื่อชำระแล้วกลายเป็นทุนเรือนหุ้นของจำเลยที่สมาชิกมีสิทธิเรียกร้องต่อเมื่อความเป็นสมาชิกสิ้นสุดลง ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในทุนเรือนหุ้นจึงคงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องสอดที่ 1 และพลโท บ. อยู่

 ใบสมัครสมาชิกของพลโท บ. มีข้อความยินยอมของผู้ร้องสอดที่ 1 มีข้อความระบุว่า ผู้ร้องสอดที่ 1 ยินยอมให้พลโท บ. ทำนิติกรรมจัดการสินสมรสของตนและพลโท บ. กับจำเลยได้ทุกกรณีนับแต่วันสมัครสมาชิกและถือว่าคำยินยอมในเอกสารนี้เป็นคำยินยอมของผู้ร้องสอดที่ 1 ในการทำนิติกรรมทุกฉบับกับจำเลยจึงมีลักษณะเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่พลโท บ. และผู้ร้องสอดที่ 1 ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างสมรสอันเป็นสัญญาระหว่างสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 เมื่อพลโท บ. ซึ่งเป็นคู่สมรสฝ่ายหนึ่งตายก็ไม่มีคู่กรณีที่ผู้ร้องสอดที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรสที่มีชีวิตอยู่ที่จะบอกล้าง จะนำระยะเวลา 1 ปี หลังการสมรสสิ้นสุดลงมาใช้บังคับไม่ได้ เนื่องจากการสมรสสิ้นสุดลงตามมาตรา 1469 ไม่รวมถึงกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตาย ดังนั้นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกที่พลโท บ. ทำไว้กับจำเลยจึงมีผลผูกพันผู้ร้องสอดที่ 1 ด้วย

************************************

ฎีกาที่ 516/2560

โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาททั้ง 9 แปลง เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย โดยได้มาระหว่างสมรส จำเลยไม่ปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าว แต่ต่อสู้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีการนำเงินของบริษัท อ. ซื้อไว้โดยใส่ชื่อจำเลยแทน เมื่อที่ดินพิพาททั้ง 9 แปลง เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474

 หลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว การที่จำเลยจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่บุตรก็ถือเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินให้บุคคลอื่น ซึ่งแม้จะเป็นบุตรของทั้งโจทก์และจำเลยเองก็เป็นเหตุที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง ทำให้เห็นได้ว่าเป็นการโอนทรัพย์สินโดยทุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี

 คดีนี้ โจทก์ฟ้องและมีคำขอเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินจากจำเลยมาเป็นของโจทก์ จำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลย แต่จำเลยให้การเพียงว่า เป็นทรัพย์สินของบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลอื่น จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

***************************************

ฎีกาที่ 8150/2560

ผู้มีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องที่ขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงเท่านั้น เมื่อรถยนต์ตามคำร้องเป็นสินสมรสระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับ ร. ซึ่งผู้คัดค้านที่ 1 กับ ร. มีส่วนเป็นเจ้าของรวมกันคนละครึ่ง แม้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของ ร. ก็ยื่นคำร้องคัดค้านได้เฉพาะทรัพย์สินในส่วนของตน ไม่อาจยื่นคำร้องคัดค้านเกี่ยวกับทรัพย์สินในส่วนของ ร. และไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ทรัพย์สินในส่วนของ ร. ตกเป็นของแผ่นดิน

 ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้บัญชาการเรือนจำอำเภอสีคิ้ว ไม่มีอำนาจหน้าที่ในเรือนจำกลางคลองไผ่ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ไปพบและพูดคุยกับนักโทษชาย ม. ซึ่งเป็นนักโทษในคดียาเสพติดที่เรือนจำกลางคลองไผ่โดยผิดระเบียบ จึงไม่มีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมและแม้ส่อว่าอาจมีข้อพิรุธ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 ได้กระทำการอื่นใดที่จะถือว่าเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับนักโทษชาย ม. มาก่อนหน้านั้นอย่างไร ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน

 ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนักโทษชาย ม. ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ลักลอบส่งโทรศัพท์มือถือไปให้นักโทษชาย ม. เป็นการผิดระเบียบของเรือนจำ และนักโทษชาย ม. นำโทรศัพท์มือถือไปให้นักโทษชาย อ. ซึ่งรู้จักกันมาก่อนและสนิทสนมกัน ใช้ติดต่อจำหน่ายยาเสพติดจากภายในเรือนจำ ผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันเป็นความผิดมูลฐาน

***************************************

ฎีกาที่ 7789/2560

แม้จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินทั้งสองแปลงเอง และปรากฏชื่อจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวถือกรรมสิทธิ์ แต่เป็นการได้ทรัพย์สินมาในระหว่างสมรส ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ใช้เงินสินส่วนตัวไปซื้อที่ดินดังกล่าวมา ที่ดินทั้งสองแปลงย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) เมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินสินสมรสไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) และจำเลยที่ 2 ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรม การขายฝากนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480

***************************************

ฎีกาที่ 7850/2560

แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า แต่เอกสารท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าที่โจทก์แนบมาท้ายคำฟ้อง ถือว่าจำเลยยอมรับว่ามีข้อตกลงตามบันทึกดังกล่าวเกี่ยวกับบ้านพิพาท ดังนั้น การที่จำเลยให้การและนำสืบว่าปัจจุบันบ้านพิพาทมิใช่สินสมรสที่โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งจากจำเลยได้เพราะโจทก์และจำเลยทำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าไว้ว่าให้ตกเป็นของจำเลย ประเด็นข้อพิพาทจึงมีอยู่ว่าบ้านพิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาพยานหลักฐานต่าง ๆ ตามข้อนำสืบของจำเลย แล้ววินิจฉัยไว้ในคำพิพากษา ในส่วนศาลอุทธรณ์ภาค 6 ก็จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวด้วย เพราะเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานต่าง ๆ ตามประเด็นข้อพิพาทและข้อนำสืบในส่วนนี้ของจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อคู่ความสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความและคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเพื่อมิให้คดีล่าช้า จึงเห็นสมควรวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าบ้านพิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ โดยไม่ย้อนสำนวน เมื่อโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงแบ่งบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสแล้วโดยให้บ้านพิพาทตกเป็นของจำเลย ดังนั้น ในขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้บ้านพิพาทจึงมิใช่สินสมรสที่โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งจากจำเลยได้อีก 

    อนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาว่าบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลย แต่ให้นำหนี้ร่วมจำนวน 1,700,000 บาท มาหักออกจากราคาบ้านพิพาทก่อนแล้วจึงนำบ้านพิพาทมาแบ่งกัน โจทก์ฎีกาว่าไม่ต้องร่วมรับผิดในเงินจำนวน 1,700,000 บาท ดังนี้ ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของโจทก์จึงมีเพียง 1,700,000 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 34,000 บาท ที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาของทุนทรัพย์ 8,500,000 บาท เป็นเงิน 170,000 บาท จึงเป็นการชำระค่าขึ้นศาลเกินมา เห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 34,000 บาท แก่โจทก์

***************************************

ฎีกาที่ 3292/2561

ป.รัษฎากร มาตรา 57 ฉ วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่เงินได้พึงประเมินไม่อาจแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด ให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง เว้นแต่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) สามีและภริยาจะแบ่งเงินได้พึงประเมินเป็นของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง" โจทก์กับ จ. ขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสินสมรส มีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นเงิน 546,000 บาท อันเป็นเงินได้จากการขายสินสมรสนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน ทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสก็ถือว่าต่างฝ่ายมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งเช่นกัน เมื่อโจทก์กับ จ. ไม่ได้มีสัญญาตกลงกันไว้เป็นอื่นในเรื่องการจัดการสินสมรส ก็ถือว่าโจทก์กับ จ. มีเงินได้คนละกึ่งหนึ่ง กรณีไม่ใช่เป็นเงินได้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ชัดแจ้งว่าเป็นของสามีและภริยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 57 ฉ วรรคสอง โจทก์กับ จ. จะแบ่งเงินได้พึงประเมินของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันตามมาตรา 57 ฉ วรรคสองตอนท้ายไม่ได้ การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาว่าโจทก์มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์จำนวน 414,960 บาท ส่วน จ. มีเงินได้จำนวน 131,040 บาท จึงไม่ถูกต้อง

***************************************

ฎีกาที่ 10159/2559

ตามบันทึกข้อตกลงการหย่าและแบ่งสินสมรส ฝ่ายชายให้บุตรทั้งสองอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของฝ่ายหญิงเพียงผู้เดียว ฝ่ายชายจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับสินสมรสทั้งหมดที่ได้ยกให้แก่บุตรทั้งสอง สินสมรสที่มีชื่อฝ่ายชายถือกรรมสิทธิ์ผู้เดียว ฝ่ายชายก็จะโอนเปลี่ยนชื่อให้เป็นชื่อฝ่ายหญิงเป็นผู้ครอบครองแทนบุตรทั้งสอง ในส่วนสินสมรสใดซึ่งหากตรวจสอบพบในภายหลังจากทำบันทึกข้อตกลงฉบับนี้แล้ว ฝ่ายชายตกลงจะนำมายกให้แก่บุตรทั้งสองคนต่อไปในทันที ก็หมายถึง สินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายชายเท่านั้น หาได้มีข้อความระบุถึงสินสมรสที่ตรวจสอบพบในภายหลังแล้วฝ่ายหญิงตกลงจะนำมายกให้แก่บุตรทั้งสองแต่อย่างใดไม่ และไม่ได้หมายถึงสินสมรสของทั้งสองฝ่ายดังเช่นที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงที่มีรายละเอียดของสินสมรสที่คู่สัญญาทั้งสองตกลงยกให้แก่บุตรทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าสินสมรสที่ตรวจสอบพบในภายหลังจากทำบันทึกข้อตกลงในส่วนที่เป็นสินสมรสของฝ่ายชายคือจำเลยที่ 1 ได้นำไปให้จำเลยที่ 2 แล้ว คงเหลือสินสมรสส่วนที่เป็นของโจทก์ซึ่งไม่ได้ตกอยู่ในบังคับข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิติดตามเอาสินสมรสส่วนนี้มาเป็นของตนได้

***************************************

20. เรื่องป้องกันเกียรติยศและชื่อเสียง

ฎีกาที่ 378/2479

ชายพบภริยาของตนกำลังร่วมประเวณีทำชู้กับชายอื่นจึงฆ่าภริยาและชายชู้ตายทั้งสองคนนั้นทันทีเช่นนี้ ถือว่าเป็นการป้องกันเกียรติยศและชื่อเสียง พอสมควรแก่เหตุ ไม่มีโทษ


21. ไม่เป็นคดีครอบครัว

ฎีกาที่ 4/2559

คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ตู้พิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงซึ่งทำขึ้นภายหลังจดทะเบียนหย่า แต่ยังคงอยู่กินและทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยให้การว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดข้อตกลง จำเลยเป็นเจ้าของรวมในรถยนต์ตู้พิพาท และโจทก์ยังไม่ชำระเงินที่จำเลยร่วมออกค่าเช่าซื้อและค่าตกแต่งรถให้แก่จำเลย ขอให้ยกฟ้อง ประเด็นข้อพิพาทมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ตู้ให้แก่โจทก์หรือไม่ อันเป็นเรื่องข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่อยู่กินร่วมกันภายหลังจดทะเบียนหย่า เพื่อประสงค์จะระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยยอมผ่อนผันให้แก่กัน มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 2 ลักษณะ 1 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ลักษณะ 17 ว่าด้วยประนีประนอมยอมความ และบรรพ 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยกรรมสิทธิ์ ทั้งการซื้อรถยนต์ตู้ก็เกิดขึ้นหลังจากโจทก์กับจำเลยจดทะเบียนหย่ากันแล้ว รถยนต์ตู้พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรส กรณีจึงมิใช่ข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ไม่เป็นคดีครอบครัวตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 10 (3)

***************************************

22. กรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นสินสมรสหรือไม่

ฎีกาที่ 4714/2542

   ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้นหมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน ณ. ถึงแก่กรรมย่อมทำให้การสมรสระหว่าง ณ. กับโจทก์สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 เงินชดเชยเป็นเงินที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.และได้รับมาหลังจาก ณ. ถึงแก่กรรมไปแล้วจึงไม่เป็นสินสมรสระหว่าง ณ. กับโจทก์และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เป็นมรดกของผู้ตายนั้น ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านี้ต้องเป็นของผู้ตายอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่สิทธิที่จะได้รับเงินค่าชดเชยเป็นสิทธิที่เกิดขึ้น เนื่องจากความตายของ ณ. มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรมจึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตาย กับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาท เท่านั้น หาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในเงินกองทุนเลี้ยงชีพ สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้ว ในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรม แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาจาก ณ. จะต้องเคยชำระเงินในอัตราร่วมกับพนักงานของจำเลยคนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่กรรมรายก่อน ๆ ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. โจทก์จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่างผู้ตายกับบุคคลภายนอกและจำเลยเพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์สืบเนื่องจากความมรณะของผู้ตายอันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะถึงแก่กรรมที่โจทก์จะใช้สิทธิแบ่งได้ สัญญาประกันชีวิตที่ผู้ตายระบุให้จำเลยซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย อันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยโดยกล่าวอ้างมาในคำฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิต จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสอง

*******************************


X